logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • ทำไมเมื่อเวลาผ่านไปเราถึงแก่?

ทำไมเมื่อเวลาผ่านไปเราถึงแก่?

โดย :
ปทิต จตุพจน์
เมื่อ :
วันศุกร์, 07 สิงหาคม 2563
Hits
4925

          ผิวหนังที่เริ่มไม่เต่งตึง เส้นผมที่เริ่มกลายเป็นสีขาวซีด ขนหนึ่งเส้นที่ไปขึ้นบนตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกายที่มันไม่ควรจะขึ้น สิ่งเหล่านี้คืออาการที่สามารถพบเจอได้กับผู้สูงอายุทั่วไป ไม่ใช่เพียงแค่ในมนุษย์ แต่สัตว์เกือบทุกชิ้นก็มีอาการเหล่านี้เช่นกันเมื่ออายุของพวกมันเริ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็มีสัตว์อยู่หนึ่งชนิดเหมือนกันที่ไม่ได้มีอาการแบบนั้น ชื่อของมันก็คือ “Moon jellyfish” หรือ “แมงกะพรุนพระจันทร์” ที่มีชีวิตดั่งอมตะ

          แมงกะพรุนพระจันทร์นั้นมีช่วงชีวิตที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตทั่วไป ในช่วงแรกแมงกะพรุนพระจันทร์จะมีรูปร่างคล้ายดอกไม้ทะเลเล็ก ๆ แล้วจึงเปลี่ยนแปลงรูปร่างจนกลายมาเป็นรูปร่างแมงกะพรุนอย่างที่เห็นอยู่ในที่สุด สิ่งมีชีวิตจำพวกแมงกะพรุนนี้มักจะสามารถสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ รวมถึงความสามารถในการซ่อมแซมร่างกายของตัวเอง เมื่อแมงกะพรุนพวกนี้ตาย เซลล์ของมันสามารถซ่อมแซมตัวเองแล้วเกิดใหม่ได้!

 11354 edit

ภาพใบหน้าของชายชรา (ผู้สูงอายุ)
ที่มา https://pixabay.com/th , Free-Photos

          แต่กับมนุษย์แล้ว การชราภาพนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว มีหลายสาเหตุมากที่เป็นสาเหตุของการมีอายุ ซึ่งทางผู้เขียนได้ลองเรียบเรียงมาตามนี้ครับ

  1. ความเสียหายที่เกิดจากการออกซิเดชัน คือการที่กระบวนการเมตาบอลิซึม (กระบวนการเผาผลาญพลังงาน) ของเรานั้นค่อย ๆ ทำลายตัวเราเองอยู่ที่ละเล็กน้อยไปเรื่อย ๆ เนื่องจากมีการสร้าง reactive oxygen species (ROS) ที่สามารถออกซิไดซ์และสร้างความเสียหายให้แก่ เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้

  2. การกลายพันธุ์ของเซลล์ เมื่อเวลาผ่านไป DNA ได้รับความเสียหายจากกิจกรรมต่าง ๆ ของเรา ทำให้เซลล์ที่เกิดการกลายพันธุ์ก็มีเพิ่มขึ้นมากเรื่อย ๆ การทำงานของเอนไซม์ก็ด้อยประสิทธิภาพลง ทำให้การซ่อมแซมร่างกายไม่เป็นไปตามปกติ

  3. ความเสียหายจากการที่ไมโทคอนเดรียทำงานผิดปกติ ไมโทคอนเดรียนั้นเกิดการกลายพันธุ์ได้ง่ายกว่านิวเคลียสใน DNA ประมาณ 10 – 20 เท่า ซึ่งสามารถทำให้การสร้างพลังงานนั้นลดน้อยลง การผลิต ROS ที่ทำลายเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย และทำให้เซลล์ตายได้

  4. การหดสั้นลงของ telomeres คือการที่โครโมโซมของเซลล์นั้นหดสั้นลงเรื่อย ๆ เมื่อเกิดการแบ่งเซลล์จากกระบวนการ DNA Replication ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดความสามารถในการแบ่งเซลล์ กระบวนการนี้สามารถบำรุงรักษาได้ด้วย telomerase แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นไม่ค่อยมีเอนไซม์ตัวนี้

  5. การสูญเสีย Epigenome คือการที่เซลล์นั้นศูนย์เสียลักษณะตัวตนของตัวเองไป ทำให้เซลล์นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์อื่นแทน เช่น การที่มีขนที่เหมือนผมขึ้นในที่ประหลาดๆบนร่างกาย (แขน ขา หลัง) ราวกับว่าร่างกายเราไม่รู้ว่าควรจะเอาขนนั้นไปไว้บนหัว

          สาเหตุพวกนี้หลายอย่างเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งนำพาร่างกายของพวกเราทุกคนไปสู่วัยชราอย่างช้า ๆ หรือบางคนก็อาจจะทำกิจกรรมบางอย่างที่ไปเร่งกระบวนการตัวของเราก็ได้ เพราะฉะนั้นต่อจากนี้เราจะลองมาพูดถึงสิ่งที่เราสามารถทำได้ตอนนี้ เพื่อเป็นการชะลอการแก่ตัวของเราดูครับ แต่ก่อนที่จะพูดถึงการที่จะมีอายุยืนนั้น หลายคนก็อาจจะมีข้อสงสัยว่า คนแก่ส่วนมากก็ล้วนจะอมโรคกันทั้งนั้น แล้วมันจะเป็นการดีจริงหรือ ที่เราจะอายุยืนขึ้นแต่ต้องนอนซมอยู่บนเตียงไม่สามารถทำสิ่งที่ต้องการได้? ต้องยอมรับก่อนเลยว่ามีผลวิจัยจริง ๆ ว่าโรคต่าง ๆ นั้นมีโอกาสเกิดสูงขึ้นเมื่อเราแก่ตัวลง แต่สิ่งที่ผู้เขียนจะบอกต่อไปนี้ไม่ใช่เพียงแค่การยืดอายุ แต่เป็นการยืดอายุแบบสุขภาพดีด้วย

          ก่อนอื่นลองมาเข้าใจวิธีการเอาตัวรอดของแบคทีเรียกันก่อนสักนิด แบคทีเรียนั้นมีรูปแบบการใช้ชีวิตอยู่ 2 อย่าง คือ

          1.หากสภาพแวดล้อมเป็นใจ เหมาะแก่การดำรงชีวิต พวกมันจะใช้พลังงานของมันในการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์

          2.หากสภาพแวดล้อมไม่เป็นใจ เช่นอากาศร้อนมากหรือหนาวมาก ซึ่งไม่เหมาะแก่การดำรงชีวิต แบคทีเรียพวกนี้จะทำการป้องกันและซ่อมแซมร่างกายของตัวเอง

         หากว่าเราอยากมีชีวิตที่ยืนยาวแบบสุขภาพดีแล้วละก็ เราก็คงจะต้องทำตามแบคทีเรียในข้อสอง ซึ่งนั้นคือการนำตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำร่างกายรู้สึกว่าจำเป็นที่จะต้องทำการรักษาตัวเองเอาไว้ ถ้าจะให้พูดเป็นรูปธรรมง่ายๆก็คือ

  1. การหลีกเลี่ยงการทำให้ DNA เกิดความเสียหาย ข้อนี่เป็นข้อพิเศษ เพราะว่าแบคทีเรียอาจจะไม่สามารถที่จะป้องกันตัวเองจากความเสียหายในระดับ DNA ได้ แต่เราพอที่จะทำได้อยู่ครับ นั้นก็คือการป้องกันตัวเองจาก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงนั้นเอง พูดให้เป็นภาษามนุษย์อีกทีก็คือ หลีกเลี่ยงการโดนแดดแรง ๆ (ไม่ออกแดดบ่อย หรือทากันแดด) หรือการโดนรังสีต่าง ๆ นั้นเอง

  2. กินให้น้อยลง เป็นการลดปริมาณพลังงานแคลอรีที่ได้รับ หรือการทำ intermittent fasting

  3. เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ หรือ ออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ ให้ร่างกายรู้สึกเหมือนคุณกำลังถูกสุนัขวิ่งไล่กวดอยู่

  4. อยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งหนาวเย็นจัดๆหรือร้อนจัดๆ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ใคร ๆ อยากทำแน่นอนครับ (ผู้เขียนเองก็เช่นกัน)

          จะเห็นได้ว่าแต่ละสิ่งที่ยกมาเพื่อทำให้ชีวิตของเรายืดยาวนั้น ดูแล้วไม่น่าจะใช่สิ่งที่คนทั่วไปอยากทำเสียเท่าไหร่ การมีชีวิตที่ยืนยาวอาจจะไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกคน ผู้เขียนไม่ได้ต้องการที่จะบังคับให้ผู้อ่านต้องทำตามทุกข้อ แต่การมีสุขภาพที่ดีถือเป็นกำไรของชีวิตครับ เพราะฉะนั้นเรามาลองทำให้สิ่งที่พอทำได้เพื่อทำให้เรามีสุขภาพที่ดีกันดีกว่า

แหล่งที่มา

Gilbert SF. Developmental Biology. 6th edition. Sunderland (MA): Sinauer Associates; 2000. Aging: The Biology of Senescence. Retrieved February 12, 2020, From: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK10041/

University of Rochester. (2019, April 23). 'Longevity gene' responsible for more efficient DNA repair. Retrieved February 12, 2020, From: https://www.sciencedaily.com/releases/2019/04/190423133511.htm

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
การชราภาพ,สาเหตุที่ทำให้แก่
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 20 กุมภาพันธ์ 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายปทิต จตุพจน์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11354 ทำไมเมื่อเวลาผ่านไปเราถึงแก่? /article-science/item/11354-2020-03-12-02-17-41
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ถุงชาที่ใช้แล้ว เอาไปทำอะไรได้บ้าง
ถุงชาที่ใช้แล้ว เอาไปทำอะไรได้บ้าง
Hits ฮิต (10041)
ให้คะแนน
หลายท่านคงดื่มชาสำเร็จรูปที่มีบรรจุหีบห่อเป็นถุงชากันใช่หรือเปล่า รู้หรือไม่ว่าถุงชาที่ใช้แล้วเหล่า ...
เตือนประชาชน ระวังโรคหยุดหายใจแบบอุดกั้น ทำสุขภาพแย่
เตือนประชาชน ระวังโรคหยุดหายใจแบบอุดกั้น...
Hits ฮิต (13586)
ให้คะแนน
แพทย์ เตือนประชาชน ระวังโรคหยุดหายใจแบบอุดกั้น ทำสุขภาพแย่ เสี่ยงเกิดสารพัดโรคเรื้อรัง “เบาหวาน ควา ...
กินอิ่มแล้วจะเรอ แล้วอาการเรอเกิดจากอะไร!!
กินอิ่มแล้วจะเรอ แล้วอาการเรอเกิดจากอะไร...
Hits ฮิต (28612)
ให้คะแนน
เคยสังเกตไหมเมื่อเวลาเรากินอาหารอิ่มมากๆแล้วจะเรอ หรือเวลาเราดื่มน้ำอัดลมแล้วก็จะเกิดอาการเรอ ที่มี ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)