logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • แสงที่เกิดจากพระอาทิตย์ขึ้น-ลงต่างกันหรือไม่?

แสงที่เกิดจากพระอาทิตย์ขึ้น-ลงต่างกันหรือไม่?

โดย :
วรางรัตน์ เสนาสิงห์
เมื่อ :
วันศุกร์, 26 กรกฎาคม 2562
Hits
13904

          แสงแดด คือ อนุภาคโฟตอนที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่แกนกลางดวงอาทิตย์ แต่โฟตอนแต่ละอนุภาคไม่ได้เกิดขึ้นแล้วทันทีจะเดินทางขึ้นมาถึงผิวดาวได้เลย มันใช้เวลานานจนไม่น่าเชื่อ จริงอยู่ที่เรารู้กันอย่างแพร่หลายว่า แสงเดินทางเป็นเส้นตรงด้วยความเร็วสูงที่สุดในจักรวาล นั่นคือ 299,792 กิโลเมตรต่อวินาทีในสุญญากาศโฟตอน หรืออนุภาคแสงแต่ละตัวจะเดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะปะทะกับอนุภาคมีประจุใด ๆ จึงจะเปลี่ยนทิศทาง แต่เนื้อในของดวงอาทิตย์ไม่ใช่สุญญากาศ มันเต็มไปด้วยพลาสมาที่มีความหนาแน่นสูงมากจากแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของดวงอาทิตย์เอง ทำให้โฟตอนแต่ละตัวที่เริ่มกำเนิดจากแกนกลางดวงอาทิตย์ไม่อาจเดินทางด้วยความเร็วแสงเหมือนเดินทางในที่ว่างได้ และพลาสมา คืออนุภาคที่มีประจุซึ่งจะหักเหทิศทางของโฟตอนทำให้เส้นทางเดินของมันหักเหวกวนไปมา และยิ่งพลาสมาหนาแน่นมาก โฟตอนก็จะหักเหกลับไปกลับมาแทบไม่รู้จบสิ้น นั่นคือ นอกจากเดินทางช้ามากแล้วยังหลงทางอีก ดังนั้นกว่าที่โฟตอนแต่ละอนุภาคจะออกมาถึงผิวดวงอาทิตย์เพื่อใช้เวลา 8 นาทีเศษเดินทางมาที่โลกนั้นต้องเสียเวลานับพันนับหมื่นปีวนไปวนมาอยู่ในดวงอาทิตย์

10116 1

ภาพพระอาทิตย์ขึ้น ณ สันเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
ที่มา วรางรัตน์  เสนาสิงห์

         แสงสว่างบนท้องฟ้าเวลากลางคืนในช่วงเวลาโพล้เพล้ก่อนท้องฟ้าจะมืดสนิทหลังจากดวงอาทิตย์ตก และเวลาเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นนั้น ทางดาราศาสตร์และการเดินเรือเรียกว่า แสงสนธยาหรือแสงเงินแสงทอง (twilight) เป็นแสงที่เกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์ในบรรยากาศโลก ยิ่งดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าขอบฟ้ามากเท่าใด แสงที่กระเจิงจากบรรยากาศชั้นบนลงมายังชั้นล่างก็ยิ่งน้อยลงมากเท่านั้น ทำให้ท้องฟ้ายิ่งมืดมากขึ้น แสงสนธยามี 3 ชนิด กำหนดตามระยะห่างเชิงมุมของดวงอาทิตย์ที่ทำกับขอบฟ้าของผู้สังเกตการณ์

  1. สนธยาทางการ(civil twilight) เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าขอบฟ้า 6°

  2. สนธยาเดินเรือ(nautical twilight) เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าขอบฟ้า 12°

  3. สนธยาดาราศาสตร์(astronomical twilight) เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ต่ำกว่าขอบฟ้า 18°

         สนธยาแต่ละชนิดจะเริ่มต้นในเวลาเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น และสิ้นสุดในเวลาหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตก เมื่อเริ่มสนธยาดาราศาสตร์ท้องฟ้าเริ่มที่จะสว่างขึ้นจากภาวะกลางคืน แต่ด้วยตาเปล่ายังไม่สามารถสังเกตได้ชัดเจน เมื่อเริ่มสนธยาเดินเรือขอบฟ้ามีแสงสว่างจาง ๆ เป็นเวลาที่เริ่มมองเห็นขอบฟ้า นักเดินเรือจะเริ่มวัดมุมสูงของดาวเพื่อใช้ในการหาพิกัดของเรือซึ่งกระทำได้จนกระทั่งดวงอาทิตย์เคลื่อนสูงขึ้นจนอยู่ใต้เส้นขอบฟ้าเป็นมุม 6° เมื่อเริ่มสนธยาทางการขอบฟ้าปรากฏอย่างชัดเจนขณะที่ยังพอมองเห็นดาวสว่าง ๆ ได้ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ดวง หลังจากนั้นท้องฟ้าจะสว่างมากขึ้นจนกระทั่งกลบแสงดาวไปหมด เมื่อถึงเวลาหัวค่ำเหตุการณ์จะกลับกัน หลังดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว สนธยาทางการจะสิ้นสุดลงก่อนตามมาด้วยสนธยาเดินเรือ แล้วปิดท้ายด้วยสนธยาดาราศาสตร์ท้องฟ้าจึงกลับเข้าสู่ความเป็นกลางคืนอย่างสมบูรณ์อีกครั้ง ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า แสงที่เกิดขึ้นในช่วงที่พระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตกจะมีความแตกต่างกันที่ระดับความสูงต่ำของดวงอาทิตย์จากขอบขอบฟ้ามีหน่วยเป็นองศา (….°)

แหล่งที่มา

วรเชษฐ์ บุญปลอด. (2559, 02 มกราคม). เวลาเกิดแสงสนธยาและเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก.  สืบค้นเมื่อ 01 พฤษภาคม 2562, จาก  http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/sunmoon/twilights.html

Vop. (2559, 09 ธันวาคม). แสงแดดใช้เวลา 8 นาทีเศษเดินทางผิวดวงอาทิตย์มาถึงโลก แต่ใช้เวลาหลายพันปีจากแกนกลางดวงอาทิตย์มาถึงผิว.  สืบค้นเมื่อ 01 พฤษภาคม 2562, จาก http://jimmysoftwareblog.com/node/5144

MGR Online. (2553, 15 มกราคม). ทำความรู้จัก “ดวงอาทิตย์” ดวงไฟพลังงานของโลก.  สืบค้นเมื่อ 01 พฤษภาคม 2562, จาก https://mgronline.com/science/detail/9530000005581

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
แสง, การเกิด, พระอาทิตย์, ขึ้น-ลง, แตกต่าง, twilight
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 03 พฤษภาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วรางรัตน์ เสนาสิงห์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10116 แสงที่เกิดจากพระอาทิตย์ขึ้น-ลงต่างกันหรือไม่? /article-science/item/10116-2019-04-19-03-48-29
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
Scientific Method สิ่งที่ใช้ได้จริงตั้งแต่วัยเรียนจนวัยทำงาน
Scientific Method สิ่งที่ใช้ได้จริงตั้งแ...
Hits ฮิต (13671)
ให้คะแนน
ครั้งหนึ่งผู้เขียนเคยนั่งคิดเล่น ๆ ว่าคนเราจะสามารถพัฒนาตัวเองทุกวันได้อย่างไร เพราะเรามักจะได้ยินแ ...
Turbo Jet เร็วแค่ไหน!?
Turbo Jet เร็วแค่ไหน!?
Hits ฮิต (14905)
ให้คะแนน
ทำไมเครื่องบินถึงบินได้ ถ้าหากว่าถามคำถามนี้เชื่อว่าจะต้องมีคำตอบว่า เพราะเครื่องบินมีปีกอย่างแน่นอ ...
ปรากฏการณ์อาทิตย์ 3 ดวง
ปรากฏการณ์อาทิตย์ 3 ดวง
Hits ฮิต (34970)
ให้คะแนน
เมื่อปลายปีที่ผ่านมา (ธันวาคม 2560) พบภาพข่าวการเกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ 3 ดวง ในสวีเดน ทำให้อยากจะ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)