logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • นั่งเก้าอี้อย่างถูกวิธี ตามหลักการยศาสตร์ (ergonomic)

นั่งเก้าอี้อย่างถูกวิธี ตามหลักการยศาสตร์ (ergonomic)

โดย :
วิภาพร ตัณฑ์สุระ
เมื่อ :
วันศุกร์, 12 กรกฎาคม 2562
Hits
21573

          การใช้เก้าอี้ในชีวิตประจำวันเพื่อทำกิจวัตรต่าง ๆ ได้แก่ ทำงานในสำนักงาน รับประทานอาหาร เรียนหนังสือ และดูโทรทัศน์ เป็นต้น  ขณะนั่งนั้นกล้ามเนื้อหลังต้องทำงานอย่างหนักเพราะน้ำหนักของร่างกายส่วนบนจะถูกถ่ายเทมายังสะโพกและต้นขา การนั่งเก้าอี้เป็นเวลานาน ทำให้เพิ่มแรงกดบนหมอนรองกระดูกสันหลัง (Intervertebral discs; หมอนรองกระดูกสันหลังเป็นส่วนที่รองรับแรงกระแทกระหว่างกระดูกสันหลังสองชิ้นและมีความยืดหยุ่น) นอกจากนั้นขณะนั่งเลือดจะไปคั่งที่ขาและเท้าจากแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้เลือดไหลเวียนกลับหัวใจช้าลง สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนอยากแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับท่านั่งที่ถูกต้อง ตามหลักการยศาสตร์ (ergonomic) จะเป็นอย่างไรนั้น ติดตามอ่านกันได้เลย

10106 1

ภาพ การนั่งเก้าอี้
ที่มา ดัดแปลงจาก https://pixabay.com , mohamed_hassan

         คนส่วนใหญ่นั้นมักจะนั่งในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ร่างกายรู้สึกไม่สบายและยังมีปัญหาทางสุขภาพอื่นตามมาได้แก่ ปวดหลัง ปวดคอ ปวดท้อง ปวดขา เมื่อยล้าตา การเคลื่อนไหวผิดปกติ  ท่านั่งที่เหมาะสมบนเก้าอี้ที่ถูกออกแบบอย่างดีตามหลักการยศาสตร์ (ergonomic) จะสามารถลดอาการล้าและไม่สบาย ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ซึ่งเก้าอี้ควรปรับระดับความสูงและ การใช้งานต่างๆ ได้ง่าย สะดวกขณะใช้งาน ต้องพอดีกับรูปร่างของคนนั่ง

          ลักษณะเก้าอี้ตามหลักการยศาสตร์ที่ดีมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้

เบาะรองนั่ง

          ต้องรับน้ำหนักร่างกายเกือบทั้งหมด วัสดุที่ใช้ทำเบาะต้องแน่น  มีความกว้างกว่าสะโพกและต้นขาอย่างน้อย 1 นิ้ว และลาดเอียงลงไปด้านหน้าเล็กน้อย และเมื่อนั่งแล้วด้านหลังของเข่าควรห่างจากขอบของเก้าอี้ 2-4 นิ้ว เพื่อลดแรงกดบนด้านหลังต้นขา ขอบด้านหน้าของเบาะนั่งควรมีลักษณะโค้งมนซึ่งสามารถช่วยลดแรงกดที่ข้อพับเข่าได้

พนักพิง

          เป็นส่วนที่รองรับหลังจึงสำคัญมาก ต้องมีส่วนโค้งที่รองรับหลังส่วนล่างได้พอดี และใหญ่พอสำหรับรองรับหลังส่วนบนและส่วนกลาง  ใช้อุปกรณ์พยุงกระดูกสันหลังระดับเอว (Lumbar support) นำมาเสริมบริเวณพนักพิงหลังซึ่งจะช่วยพยุง กระดูกสันหลังระดับเอว ลดอาการปวดหลังและความดันที่เกิดภายในหมอนรองกระดูกสันหลังได้

ที่วางแขน

          ทำจากวัสดุที่นุ่ม ควรมีความกว้างอย่างน้อย 2 นิ้ว เพื่อมีที่รองรับแขนได้เพียงพอ ที่พักแขนควรปรับได้และอยู่ในระดับต่ำพอที่สามารถสอดเข้าใต้โต๊ะได้ ส่วนความยาวของที่พักแขนขึ้นอยู่กับขนาดของเบาะนั่ง มุมขอบไม่แหลมเพื่อป้องกันการกดทับเส้นประสาทที่บริเวณข้อศอก  

ความสูงของเก้าอี้

          ปรับให้พอดีเมื่อนั่งแล้วเท้าทั้งสองข้างต้องวางบนพื้น ขณะที่ลำตัวส่วนบนอยู่ในแนวเดียวกับอุปกรณ์ที่กำลังใช้งานเช่นจอคอมพิวเตอร์หรือแป้นพิมพ์ สำหรับคนที่ขาไม่ถึงพื้นต้องใช้ที่วางเท้า หากใช้เก้าอี้ที่มีล้อ ควรเลือกแบบ 5 ล้อ เพื่อให้เคลื่อนที่ง่าย และไม่กระดก

นอกจากการเลือกใช้เก้าอี้แล้ว วิธีนั่งอย่างปลอดภัยก็จะช่วยลดความไม่สบายและอันตรายขณะนั่งได้ ได้แก่

  1. ไม่ควรนั่งในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ สลับจากท่านั่งเป็นยืนบ้าง

  2. ขณะนั่ง สะโพกต้องอยู่สูงกว่าเข่า เท้าทั้งสองข้างต้องวางบนพื้น

  3. ลงน้ำหนักที่สะโพกเท่ากันบนเบาะ นั่งตัวตรงให้หลังและไหล่แนบกับพนักพิง ผ่อนคลายไหล่ วางข้อศอกและแขนบนที่วางแขน

        สิ่งที่สำคัญคือ เมื่อนั่งนาน ควรพักโดย ลุกขึ้นยืน ยืดตัวและหายใจลึกๆ เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด และลดอาการล้า ต้องตระหนักรู้ถึงท่าทางของตัวเองเสมอ เมื่อลำตัวกำลังงอ เอียงหรืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง ควรแก้ไขท่าทางของตัวเองให้อยู่ในท่าที่ถูกต้องเสมอ และค่อยๆปรับท่าทางตามนี้จะช่วยให้เกิดความสุขสบายและมีสุขภาพที่ดี

แหล่งที่มา

Mary Rodts. (2019, 26 January). Ergonomic Chairs and Seat Adjustment. Retrieved February 21, 2019, from https://www.spineuniverse.com

จันทณี นิลเลิศ.(2560, มกราคม-เมษายน). การนั่งตามหลักการยศาสตร์. เวชบันทึกศิริราช, ปีที่ 10(ฉบับที่ 1),หน้าที่ 23-28.

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ท่านั่ง, เก้าอี้
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 22 มีนาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วิภาพร ตัณฑ์สุระ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10106 นั่งเก้าอี้อย่างถูกวิธี ตามหลักการยศาสตร์ (ergonomic) /article-science/item/10106-2019-04-19-02-30-25
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
การลดความชื้นยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์
การลดความชื้นยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย...
Hits ฮิต (24124)
ให้คะแนน
.....การลดความชื้นยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์.... สุนทร ตรีนันทวัน เราคงจะเห็นกันมาแล้ว อาหารแห้งต ...
ความเสี่ยงของอาหารมังสวิรัติในทารก
ความเสี่ยงของอาหารมังสวิรัติในทารก
Hits ฮิต (13031)
ให้คะแนน
เด็กทารกเป็นวัยที่ควรได้รับปริมาณอาหารที่เหมาะสมและมีสารอาหารที่สมดุลกับความต้องการของร่างกาย แม้ว่ ...
ผักชีฝรั่ง
ผักชีฝรั่ง
Hits ฮิต (31987)
ให้คะแนน
ผักชีฝรั่ง ผักชีฝรั่ง เป็นพืชล้มลุก มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้และประเทศเม็กซิโก และต่อมามีการนำไป ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)