logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ชีววิทยา
  • ความลับของผีเสื้อใบไม้ กับการพรางตัวอันแสนแยบยล

ความลับของผีเสื้อใบไม้ กับการพรางตัวอันแสนแยบยล

โดย :
ยารินดา อรุณ
เมื่อ :
วันพุธ, 02 กันยายน 2563
Hits
11647

          ในธรรมชาตินั้นเต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดต่างก็มีรูปแบบที่หลากหลาย แต่ก็ยังมีชีวิตหลายชนิดได้ปรับตัวเพื่ออยู่รอดในรูปแบบที่น่าอัศจรรย์ใจอย่างยิ่ง หนึ่งในนั้นก็คือ “ผีเสื้อ​ใบ​ไม้​แห้ง” (Dead-leaf butterflies) นั่นเอง

          ผีเสื้อใบไม้แห้งนี้มีลักษณะที่แตกต่างจากผีเสื้อชนิดอื่นด้วยลักษณะของปีกที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก เพราะมันมีปีกที่ดูเหมือนกับใบไม้มากเลยทีเดียว หากใครที่ชอบเดินป่าแล้วบังเอิญเดินผ่านผีเสื้อใบไม้แห้งเข้า ก็แทบไม่รู้เลยว่านี่คือ “ผีเสื้อ” ที่เป็นแมลงชนิดหนึ่ง บินได้ ขยับได้

          ไม่เพียงแต่ลักษณะภายนอกเท่านั้นที่เหมือนใบไม้แห้ง ลักษณะการเกาะอยู่กับต้นไม้แบบนิ่งๆอยู่กับที่ ก็เป็นพฤติกรรมที่น่าสนใจของผีเสื้อใบไม้แห้งเช่นกัน หากได้ลองสังเกตดู จะพบว่าผีเสื้อที่เราพบเห็นได้ทั่วไปตามสวนดอกไม้ จะมีจังหวะการกระพือปีกและการเกาะกับต้นไม้ที่ต่างออกไปจากผีเสื้อใบไม้แห้ง

11365 1edit

ภาพที่ 1 ผีเสื้อใบไม้แห้ง
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Dead_leaf_butterfly_in_nature.jpg ,Own work

          โดยผีเสื้อทั่วๆไปนั้น เมื่อตอนที่เกาะดูดน้ำหวานจะมีการขยับตัวบ้าง เล็กน้อย และไหวตัวเร็ว รีบบินหนีทันทีเมื่อเราเข้าไปใกล้ แต่ผีเสื้อใบไม้แห้งนั้นกลับอยู่นิ่งมาก ไม่ขยับตัวเลยเมื่อเราเข้าไปใกล้ ราวกับจะกลายเป็นใบไม้ใบหนึ่งที่บังเอิญตกลงมาจากเรือนยอดของต้นไม้จริงๆ

          ทั้งพฤติกรรมและลักษณะภายนอกของผีเสื้อใบไม้แห้งนี้ เรียกว่า “การพรางตัว” (Camouflage) เกิดจากการปรับตัวตามธรรมชาติของแมลง และการที่ผีเสื้อใบไม้ต้องพรางตัวจากนักล่านั้น ก็เพื่อรักษาชีวิตรอดโดยไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินแมลงอื่นๆ เช่น งูบางชนิด นก เป็นต้น

          การพรางตัวเรียกได้ว่าเป็น “วิวัฒนาการ” ของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติรูปแบบหนึ่ง โดย “การพรางตัว” แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ “crypsis” คือการพรางตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเพื่อให้ถูกมองเห็นยากขึ้น เช่น การพรางตัวของกบ คางคก จิ้งจก กิ้งก่า งู เป็นต้น

          นอกจากนี้การปรับตัวตามธรรมชาติยังมีอีกรูปแบบหนึ่งที่ต่างออกไป เรียกว่า “mimesis” คือการเลียนแบบเป็นสิ่งอื่น ซึ่งการพรางตัวของผีเสื้อใบไม้แห้งก็จัดอยู่ในลักษณะที่เป็น “mimesis” นี้เช่นกัน

          ข้อสังเกตของการปรับตัวแบบ “mimesis” ก็คือ การที่มี “ตัวต้นแบบ (model)” และ “สัตว์ตัวที่ทำการเลียนแบบ (mimic)” สองอย่างนี้มาคู่กันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในกรณีของผีเสื้อใบไม้แห้ง จะมี “ใบไม้แห้ง”เป็นตัวต้นแบบ (model) และผีเสื้อชนิดนี้ก็ทำการวิวัฒนาการปีกของมันขึ้นมาให้ลวดลายเหมือนกับใบไม้แห้ง รวมถึงสังเกตและลอกเลียนพฤติกรรมของใบไม้ออกมาได้อีกด้วย เรียกได้ว่า “ผีเสื้อ” คือผู้ลอกเลียนแบบ (mimic) นั่นเอง โดยการเลียนแบบลักษณะนี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทฤษฎี “Batesian mimicry” เป็นการเลียนแบบของเหยื่อเพื่อป้องกันตัวจากสัตว์ผู้ล่าดังที่กล่าวมาแล้ว  ซึ่งในกรณีของผีเสื้อใบไม้ ก็คือการทำให้สัตว์ผู้ล่าคิดว่าผีเสื้อตัวนี้ไม่สามารถกินได้นั่นเอง ส่วนที่มาของชื่อเรียกทฤษฎีนี้ ก็มาจากการตั้งชื่อเพื่อให้เกียรติแก่ Henry Walter Bates นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษที่ค้นพบทฤษฎีนี้

แหล่งที่มา

ดร.นันทศักดิ์ ปิ่นแก้ว. ชีวิตและวิวัฒนาการ กับความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย. BRT Magazine,  December, 2008, from http://www1a.biotec.or.th/BRT/images/stories/camouflage.pdf

ตื่นเถิด. อยู่รอดได้โดยการพรางตัว, 2005, from https://wol.jw.org/th/wol/d/r113/lp-si/102005525

Aruond the word. (2019, 24 Mars), from https://www.blockdit.com/posts/5c9a60e8eded2709c02c0f78

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
การเลียนแบบ,ผีเสื้อใบไม้แห้ง,การพลางตัว
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 03 มีนาคม 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ยารินดา อรุณ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11365 ความลับของผีเสื้อใบไม้ กับการพรางตัวอันแสนแยบยล /article-biology/item/11365-2020-03-12-03-28-01
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
แมลงศัตรูพืช
แมลงศัตรูพืช
Hits ฮิต (46550)
ให้คะแนน
แมลงศัตรูพืช (Insect pest) การเพาะปลูกในระบบเกษตรอาจมีปัญหาแมลงศัตรูพืชระบาดได้ เช่น เพราะสมดุลระบบ ...
Stabbing Pain: ปวดเหมือนถูกแทงเป็นเช่นนี้เอง
Stabbing Pain: ปวดเหมือนถูกแทงเป็นเช่นนี...
Hits ฮิต (12721)
ให้คะแนน
หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่เคยมีอาการเจ็บปวดแบบเสียดแทงในบริเวณจุดใดจุดหนึ่งของร่างกาย และไม่ได้เกิดขึ้ ...
หักล้างความคิด ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับร่างกายมนุษย์
หักล้างความคิด ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับร่...
Hits ฮิต (21423)
ให้คะแนน
ผู้คนมักมีแนวโน้มที่จะแชร์เรื่องราวต่าง ๆ อย่างรวดเร็วผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยที่ไม่ได้ตรวจสอบข้อมูล ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)